สุขภาพจิตของคนอีสาน
หน่วยงานภาครัฐ

หน่วยงานราชการ : ศูนย์สุขภาพจิต, สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นฯ, โรงพยาบาลจิตเวช

ลักษณะหน่วยงาน : ศูนย์วิชาการและโรงพยาบาล เพื่อดําเนินงานส่งเสริม ป้องกัน บําบัดรักษา และฟื้นฟูด้านสุขภาพจิต โดยแบ่งการดําเนินงานเป็นช่วงวัย ประกอบด้วย ปฐมวัย วัยเรียนวัยรุ่น วัยทํางาน และวัยสูงอายุรวมถึงประเด็นปัญหาสุขภาพจิตที่สําคัญ เช่น ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตทุกกลุ่มวัย, วิกฤติสุขภาพจิต, งานวิจัยด้านสุขภาพจิต เป็นต้น

 

บริบท (สภาพการณ์ที่มีความซับซ้อน สถานการณ์ปัญหาความรุนแรง)

ปฐมวัย ข้อมูลจากการสํารวจระดับสติปัญญา (IQ) เด็กไทยในปี พ.ศ. 2564 เมื่อพิจารณาตามระดับสติปัญญา พบว่ายังคงมีเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่อง (IQ < 70) อยู่ถึงร้อยละ 5.4 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากล (≤ร้อยละ 2) โดยปัจจัยสําคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการที่เด็กมีสติปัญญาต่ํา ได้แก่ การที่ครอบครัวมีปัญหาทางเศรษฐกิจ, บิดา–มารดามีระดับการศึกษาต่ํา, อายุของมารดาขณะตั้งครรภ์
น้อยกว่า 20 ปี และครอบครัวขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูเด็กขณะที่ตั้งครรภ์ในส่วนของความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า เด็กมีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ควรพัฒนาที่ร้อยละ 16.8 เมื่อพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ร่วมกัน พบว่า ยังมีความจําเป็นที่ต้องให้ความสําคัญกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการค้นคว้าแนวทางการส่งเสริมคุณภาพและพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในครอบครัวที่ขาดโอกาสทางสังคม

วัยเรียนและวัยรุ่น ข้อมูลการดําเนินงานเขตสุขภาพที่ 7 (จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์) ปี 2566 พบว่า การเข้าถึงบริการ 4 โรคหลัก วัยเรียนเป็นดังนี้โรคสมาธิสั้น ร้อยละ 33.23, ออทิสติก ร้อยละ 89.29, สติปัญญา 10 บกพร่อง ร้อยละ 10.90 และบกพร่องทางการเรียนรู้ร้อยละ 8.80 และจากจํานวนเด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 24,160 คน พบเด็กควรได้รับการดูแลช่วยเหลือจํานวน 2,330 คน คิดเป็นร้อยละ 9.64 นอกจากนี้มีเด็กและวัยรุ่นพยายามฆ่าตัวตายจํานวน 288 ราย และฆ่าตัวตายสําเร็จ 9 คน

วัยทํางาน ข้อมูลจากผลการสรุปตรวจราชการปีงบประมาณ 2566 พบว่า มีผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าสู่ระบบบริการที่ร้อยละ 94.13 และมีจํานวนผู้ฆ่าตัวตายสําเร็จ 3,847 คน คิดเป็นอัตรา 5.90 ต่อแสนประชากร

วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลประเมินสุขภาพจิต และได้รับการดูแลช่วยเหลือจนมีสุขภาพจิตดีขึ้น ≥ ร้อยละ 25

 

จุดเริ่มต้น กลไกการดําเนินงาน

ด้านการส่งเสริมป้องกัน ในเชิงนโยบายเป็นการวางแผนการดําเนินงานในพื้นที่โดยให้มีความสอดคล้องกับนโยบายจากกรมสุขภาพจิตส่วนกลาง และปัญหาที่พบจริงในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดยตรงจากส่วนกลางและการบูรณาการร่วมกับศูนย์วิชาการอื่น รวมทั้งของบประมาณสนับสนุนจากแหล่งอื่น เช่น สปสช. , สสส. เป็นต้น กํากับติดตามการดําเนินงานผ่านผู้รับผิดชอบระดับจังหวัด และการนิเทศตรวจราชการกรณีปกติ

ด้านการบําบัดรักษา เป็นหน่วยงานตติยภูมิที่รับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอําเภอ โรงพยาบาลจังหวัด แต่ยังคงเปิดรับผู้มารับบริการโดยตรงกับทางโรงพยาบาล และเชื่อมต่องานด้านการส่งเสริมป้องกันกับศูนย์วิชาการและเครือข่ายอื่นผ่านงานเครือข่ายและชุมชนของโรงพยาบาล

 

กระบวนการ วิธีการ เครื่องมือ

ปฐมวัย ส่งเสริมพัฒนาการ, ความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กปฐมวัย และทักษะการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครอง ผ่านกิจกรรมที่กรมสุขภาพจิตสร้างขึ้น เช่น โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (Triple-P), การพัฒนาเด็กไทย คิดเป็น คิดดีคิดให้ด้วยสายใยผูกพัน (CPR)

วัยเรียนและวัยรุ่น การเฝ้าระวัง คัดกรอง และเพิ่มการเข้าถึงบริการ 4 โรคหลักวัยเรียน, ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในวัยรุ่น รวมถึงภาวะซึมเศร้า การทําร้ายตนเอง และการฆ่าตัวตาย ผ่านโปรแกรม School Health HERO ในสถานศึกษาทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา, ระดับมัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัย

วัยทํางาน สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตในการสังเกต ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น และส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการในโรงพยาบาลใกล้บ้าน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ทุกโรงพยาบาลมีกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด รวมทั้งพัฒนาบุคลากรสหวิชาชีพเพื่อให้บริการในคลินิกดังกล่าว และพัฒนาระบบการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย

วัยสูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุโดยแบ่งผู้สูงอายุเป็นกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง เพื่อออกแบบการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละกลุ่ม รวมทั้งเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านกิจกรรมสุข 5 มิติและหลักสูตร CG

งานอื่น ๆ การขับเคลื่อนงานวิกฤตสุขภาพจิต, พรบ.สุขภาพจิต และการเฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMIV) ผ่านการอบรมให้ความรู้และบูรณาการการทํางานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีนโยบายและแนวทางการส่งเสริมป้องกันรวมถึงบําบัดรักษาด้านสุขภาพจิตในทุกช่วงวัย และครอบคลุมปัญหาสุขภาพจิตในปัจจุบันที่พบได้บ่อย แต่ยังคงขาดการบูรณาการที่ชัดเจนกับหน่วยงานอื่นทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้ผลลัพธ์ในเชิงปริมาณ เช่น การเข้าถึงบริการ, จํานวนผู้ได้รับการคัดกรอง เป็นต้น ทําได้ค่อยข้างดี แต่การติดตามการดําเนินงานในเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นจุดที่ควรได้รับการพัฒนาต่อไป

Shares:
QR Code :
QR Code