สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และสุขภาพของคนภาคเหนือ
สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร
และสุขภาพของคนภาคเหนือ
ดร.วรวุฒิธุวะคํา และ อ.ศศิธร สุขจิตต์
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ความมั่นคงทางอาหาร คือ สภาวะที่ทุกคน และทุกช่วงเวลาเข้าถึงอาหารได้เพียงพอ ไม่ว่าจะด้วยความสามารถทางกายภาพหรือเศรษฐกิจก็ตาม อีกทั้งอาหารที่ได้รับจะต้องปลอดภัยมีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกาย เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
องค์ประกอบความมั่นคงทางอาหาร คือ
- การได้รับอาหารที่เพียงพอ ต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ
- การเข้าถึงอาหาร ประชาชนทุกคนต้องมีโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง บนพื้นฐานโภชนาการที่ดี
- การใช้ประโยชน์จากอาหาร ตามหลักทางด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย
- การมีเสถียรภาพด้านอาหาร โดยบริหารจัดการให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารได้อย่างเหมาะสม
(ข้อมูล : ผศ.ดร.สักกรินทร์นิยมศิลป์รายงานสถานการณ์สุขภาพคนไทย :สถานการณ์เด่น กรกฎาคม 2565 )
สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของไทยทั้ง 4 มิติ
- ผลกระทบต่อการมีอาหารเพียงพอ ในระยะแรกของวิกฤตโควิด 19 ผู้คนตกใจกังวลว่าจะขาดแคลนอาหาร เกิดการกักตุนอาหาร ต่อมาเกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทานอาหาร ได้แก่ การขนส่ง การกระจายผลผลิต การซื้อ การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร
- ผลกระทบต่อการเข้าถึงอาหาร ในช่วงแรกของวิกฤตโควิด 19 คนบางกลุ่มเข้าไม่ถึงอาหารเพราะหาซื้อไม่ได้หรืออาหารมีราคาแพง ธุรกิจบางส่วนหยุดชะงัก แรงงานถูกเลิกจ้างหรือลดเงินเดือน และคนจนเมืองที่เคยเข้าถึงอาหารได้กลายเป็นคนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้
- ผลกระทบต่อการใช้ประโชน์จากอาหาร การที่ประชาชนต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร คือ มีการสั่งสินค้าอาหารทางออนไลน์มากขึ้น อาจทําให้ได้คุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอ
- ผลกระทบต่อการมีเสถียรภาพด้านอาหาร การที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอตลอดเวลา และมีความเสี่ยงในการเข้าถึงอาหารเมื่อเกิดวิกฤตโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อการมีเสถียรภาพด้านอาหารโดยรวม โดยเฉพาะในระยะแรกและระยะกลางของวิกฤตโควิด 19
ความมั่นคงทางอาหารของไทย
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบีหรือ ttb ananlytics ได้ทําการศึกษาความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย พบว่า
ในปี 2021 ประเทศไทยอยู่ในลําดับที่ 51 ของโลกจากทั้งหมด 113 ประเทศ โดยความมั่งคงทางอาหารของไทยอยู่ในระดับเฉลี่ย 2 องค์ประกอบคือ
- ประชาชนสามารถหาซื้ออาหารได้ง่าย (Affordability)
- ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตอาหารค่อนข้างมีความยืดหยุ่น (Natural Resources and Resilience)(ไทยอยู่ในลําดับที่ 40 และ 50 ของโลกตามลําดับ) แต่ไทยยังมีจุดอ่อนใน 2 องค์ประกอบ คือ
- ความพร้อมและความพอเพียงด้านอาหาร (Availability)
- คุณภาพและความปลอดภัย (Quality and Safety) (ไทยอยู่ลําดับที่ 59 และ 73 ของโลกตามลําดับ)
ข้อมูลการตกค้างของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชในผัก ผลไม้ ปี 2565
ผลการเฝ้าระวังของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกําจัดศัตรูพืช (Thai-Pan) ปี 2565 โดยการสุ่มตรวจจากห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง ได้แก่ Makro, Big C, TOPs, Lotus’s, Gourmet Market และตลาด 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลําพูน นครสวรรค์ราชบุรีปทุมธานีปราจีนบุรีจันทบุรีขอนแก่น ยโสธร มหาสารคามและสงขลา รวมทั้งจากช่องทางออนไลน์
ผลการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักผลไม้ โดยสุ่มตรวจผักผลไม้ทั้งหมด 509 ตัวอย่างจากทั่วประเทศจําแนกตามแหล่งที่มาของผักและผลไม้พบว่า
ผักผลไม้ที่นําเข้าและผลิตในประเทศ มีความเสี่ยงพอๆกัน โดยผักและผลไม้ที่ผลิตในประเทศพบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 54.01 % (จํานวนผักที่ส่งตรวจ 274 ตัวอย่าง) ส่วนผักผลไม้ที่นําเข้าจากต่างประเทศ พบตกค้างเกินมาตรฐาน 56.1 % (จํานวนตัวอย่างที่ทราบว่านําเข้ามาทั้งหมด 82 ตัวอย่าง)
โครงการสร้างเสริมสุขภาพจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคและกลุ่มเปราะบางในช่วงวิกฤติ
พบพืชผักในเชียงใหม่ที่มีสารตกค้างมาก 5 อันดับแรก คือ คะน้า ผักกาดขาว มะเขือเทศ กะเพรา พริกขี้หนูทําให้ระดับสารเคมีในเลือดของอาสาสมัคร 189 คน อยู่ในระดับเสี่ยงถึง 56.25% , ไม่ปลอดภัย 28.08% แต่ระดับปลอดภัยและปกติอยู่ที่ 9.18 และ 6.49 เท่านั้น
รองศาสตราจารย์ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ภาคเหนือ พบว่ามีสารเคมีตกค้างในร่างกายประชาชนอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูงสุดมากกว่า 10 ปีในปีพ.ศ. 2565 มีสารเคมีตกค้าง 70.3% ภาคใต้ 58.65% ภาคกลางและภาคตะวันออก 41.19 % ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 37.14 %
(ข้อมูล : ศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกุล อาจารย์ประจําภาควิชาวิศกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
ร่วมทีมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สานพลังกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย)
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงรายกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
การเฝ้าระวังสารตกค้างในผักสด เขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน จํานวน 100 ตัวอย่าง พบการตกค้างจํานวน 31 ตัวอย่าง และเกินมาตรฐาน (Maximum Residue Limit : MRLs) จํานวน 20 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 64.5 ของตัวอย่างที่ตรวจพบ โดยพบสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างมากที่สุด car bofuran chlorfenapyl และ chlorpyrifos ตามลําดับ และพบมากที่สุดในตัวอย่าง ผักคะน้า ถั่วฝักยาว และผักกาดขาว ตามลําดับ กลุ่มตัวอย่างที่นํามาวิเคราะห์พบไม่ปลอดภัย ทุกจังหวัด
เกษตรกรอาจจะมีการเก็บเกี่ยวทันทีหลังจากมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืช โดยมีการใช้สารเคมีที่ไม่ปฏิบัติตามคําแนะนําของฉลาก เนื่องจากสารเคมีป้องกันกําจัดศรัตรูพืชแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาการสลายตัวที่แตกต่าง ทําให้สารเคมีป้องกันกําจัดศรัตรูพืชบางชนิดยังสลายตัวไม่หมด ทําให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้
(ข้อมูล : พรรคพล ชะพลพรรค , นันทวีอัศวาภรณ์ ,อภิญญา งามตา ,ข้อมูล ณ วันที่ 24 พ.ค. 2566)
อัตราผู้ป่วยจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืช
ในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืช 6,081 ราย อัตราการป่วยต่อแสนประชากร 13 % แบ่งออกเป็น
- ป่วยจากสารกําจัดแมลง จํานวน 2,952 ราย
- ป่วยจากสารกําจัดวัชพืช จํานวน 1,345 ราย
- ป่วยจากสารกําจัดศัตรูพืชอื่นๆ จํานวน 1,784 ราย
จังหวัดที่มีจํานวนผู้ป่วยมากที่สุด 7 อันดับ คือ ร้อยเอ็ด, อุตรดิตถ์, ลําปาง, บุรีรัมย์, พิจิตร, มหาสารคาม, อ่างทอง
(ข้อมูล : รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปีพ.ศ.2561
ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) )
อัตราการป่วย : โรคพิษจากสารกําจัดศัตรูพืช
การศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมีอันตรายที่ใช้ในภาคเกษตร (ไกลโฟเสต) และค่าใช้จ่ายสําหรับ
การรักษาฟื้นฟูสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร
เขตสุขภาพที่ 1 มีอัตราป่วยสูงสุดเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 13 เขตมีอัตราป่วย 22.02 ต่อแสนประชากร จังหวัดที่มีรายงานอัตราป่วยมากกว่า 40 ต่อแสนประชากร ได้แก่ จังหวัดลําปาง
(ข้อมูล : กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค , 2565)