New Chapter ก้าวบทใหม่ สภส. Together We Can ร่วมกัน เราทำได้

#ภาคีมีเรื่อง(เล่า)

เมื่อโลกอยู่ในยุคของความผันผวน วิกฤตสุขภาพเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และไม่เคยเกิดขึ้นในรูปแบบเดิม
มีความซับซ้อน จะมีวิธีพร้อมรับ ปรับตัวอย่างไรให้ผ่านสถานการณ์เหล่านั้นไปได้ ขอชวนภาคีเครือข่ายทุกคนมาร่วมเดินทางสร้างสุขภาวะสู่สังคมบทใหม่ไปพร้อม ๆ กับ สภส. ใน Chapter ต่อไป ผ่านมุมมองของ ดร.ณัฐพันธ์ ศุภกา หรือ ดร.กบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) 

วิกฤติเกิดขึ้นได้เสมอ และไม่เคยเกิดขึ้นในรูปแบบที่เหมือนเดิม

ดร.กบ แชร์ให้ฟังว่า… “สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายของ สสส. ทั่วประเทศในทุกมิติสุขภาพ ประสบการณ์ 22 ปี ของ สสส. ภาคีเครือข่ายทุกท่านได้พบว่า
ในบทบาทต่าง ๆ ที่ผ่านมา บทเรียนเหล่านี้สอนให้รู้ว่า “วิกฤติเกิดขึ้นได้เสมอ และไม่เคยเกิดขึ้นในรูปแบบที่เหมือนเดิม” นั่นหมายความว่า ภาคีเครือข่ายทุกคน ต้องมีการปรับวิธีคิด วิธีทำงาน แม้กระทั่งการปรับเปลี่ยนความเชื่อของตัวเอง เพื่อรับกับสถานการณ์ความท้าทายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างคาดเดาไม่ได้ในอนาคต”

New chapter สภส. ก้าวล้ำ เชิงรุก สร้างสุขสู่สังคมไทย…

“บทใหม่ของพวกเรา New chapter ต่อไปของ สภส. เป็นเรื่องที่ต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ไม่ได้เป็นคนที่ถูกทิ้งไว้ในโลกที่ปรับตัวไม่ได้ อย่างน้อยเราต้อง “ก้าวทัน”  คำว่า “ก้าวทัน” หมายความว่า ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดอะไรขึ้น เราอยู่ทันเหตุการณ์นั้น ปรับตัวได้ทัน และที่สำคัญ
ภาคีเครือข่าย สสส. ในฐานะนักสร้างเสริมสุขภาพ คำว่า “ก้าวทัน” อย่างเดียวไม่ทัน เราต้องก้าวล้ำ เชิงรุก เพราะประเด็นปัญหาเหล่านี้ เราต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ก่อน เพราะถ้าเราแก้ไขปัญหาช้า การทำงานที่ช้าและปรับตัวไม่ได้ จะส่งผลกระทบต่อคนไทยที่จะต้องรับปัจจัยปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้  ฉะนั้นพวกเราจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นมาก

อย่างไรก็ตาม ภาคีเครือข่าย สสส. เราไม่ได้อยู่คนเดียว ภาคีเครือข่าย สสส. ทุกสำนัก ทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ที่ทำงานร่วมกันอยู่ ให้นึกถึงเสมอว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียว มีเพื่อนภาคีเครือข่ายอีกหลักหมื่นที่ทำงานร่วมกับเราอยู่ แต่จะทำอย่างไรให้เพื่อนของเราเหล่านี้ ได้ร่วมกับเรา ได้แลกเปลี่ยนกับเรา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แชร์สารทุกข์สุขดิบ เครื่องมือใหม่ ๆ วิธีคิดใหม่ ๆ ไปด้วยกันได้ มีการเรียนรู้ เติมเต็ม ซึ่งกันและกัน”  

บทบาทนี้เป็นบทบาทสำคัญของ สภส. ในการที่เราจะทำอย่างไรให้ภาคีเครือข่ายที่มีความหลากหลายจำนวนมาก ซึ่งทุกคนมีประเด็น มีเป้าหมายร่วมกันที่สำคัญ ก็คือ ทำให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี บทบาท สภส. จะช่วยทำให้ภาคีเครือข่ายเป็นหนึ่งเดียวกัน การที่จะเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ไม่ได้หมายความว่าภาคีเครือข่ายรู้จักกับภาคีเครือข่ายอย่างเดียว แต่หมายความว่า ภาคีเครือข่ายทำงานกับ สสส. ในลักษณะที่เป็นพี่น้องร่วมทำงานด้วยกัน ประเด็นปัญหาของพี่น้องของเราสามารถเป็นเรื่องเดียวกันได้ เพราะทุกคนเป็นภาคส่วนเดียวกัน เป็นเนื้อเดียวกันหมด ซึ่งการจะทำอย่างนั้นได้ ใน chapter ใหม่ของพวกเรา ไม่ใช่เรื่องที่เราจะทำได้เหมือนเดิมอีกต่อไป 

“Together We Can ร่วมกัน เราทำได้” บทใหม่ พาภาคีมุ่งสู่สุขภาวะแห่งอนาคต

“ไม่ว่าภาคีเครือข่ายจะทำงานอยู่ที่ไหน จังหวัดไหน ประเด็นไหน สำนักพัฒนาภาคีเครือข่ายสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์จะอยู่กับท่านเสมอ โดยวิธีที่เราจะไปช่วยท่านภาคีเครือข่าย มีวิธีการที่สำคัญอยู่ 3 เรื่อง ตามบทบาทและภารกิจของ สภส. ตามที่พวกเราอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ร่วมกัน เราทำได้” หรือ Together We Can คำนี้เป็นคำที่เราใช้ตั้งแต่ตั้งสำนักฯ ขึ้นมา แต่ใน new chapter เปลี่ยนไปแล้ว สามคำนี้ถูกออกแบบใหม่เพื่อสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่าย

Together ร่วมกัน…

“…คำว่า Together หมายความว่า ทุกอย่างของการแก้ไขปัญหาต่อไปนี้ ไม่ใช่เรื่องของการแยกภาคส่วนแล้ว ไม่ใช่เรื่องของจังหวัดนั้น หรือประเด็นนี้ แต่ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน คำว่า Together เราจะทำเวทีที่เป็นลักษณะให้ภาคีทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ด้วยการออกแบบเวทีกลไกเชื่อมประสาน ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดไหน ทำประเด็นอะไร เราจะสนับสนุนให้ภาคีทำงานเป็นเนื้อเดียวกันได้ รวมถึงพัฒนาช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าภาคีจะทำงานอยู่ที่มุมไหน ประเด็นไหน ก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

WE “เรา”

“…คำว่า WE บอกอยู่แล้วว่า หมายถึง พวกเรา ทำอย่างไรให้พวกเรา (ภาคีเครือข่าย) มีความเป็นพวกพ้องเดียวกัน เมื่อเพื่อนมีปัญหาเราไปช่วยเขาได้ เมื่อ สสส. มีปัญหา เพื่อนภาคีช่วย สสส. ได้ หรือแม้ภาคีมีปัญหา สารทุกข์สุกดิบอะไร ก็สามารถแชร์กับ สสส. ได้ ภาคีเครือข่ายกับ สสส. เราเป็นเนื้อเดียวกัน มีความผูกพันซึ่งกันและกัน สื่อสารด้วยความเป็นพี่เป็นน้อง ในระบบดังกล่าว สภส. จะพัฒนาระบบการสื่อสารเพื่อให้รองรับการทำงาน ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือการค้นหาภาคีด้วยระบบสารสนเทศใหม่ ๆ ทำได้สะดวกสบาย
ช่วยเสริมศักยภาพการทำงานให้กับภาคีเครือข่ายมากยิ่งขึ้น”

CAN “เราทำได้”…

“…New chapter เครื่องมือที่สำคัญมาก ๆ คือ คำว่า “can” หรือว่า “เราทำได้” ซึ่งมีความหมาย 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ เรื่องแรก เราพูดถึงความสามารถในการทำได้ ในเรื่องสมรรถนะ หรือขีดความสามารถ เพราะในการทำงานในโลกยุคใหม่ เราจำเป็นต้องมีชุดสมรรถนะใหม่ๆ ที่มีการปรับตัวที่ทำให้ภาคีเครือข่ายมีเครื่องมือ มีความรู้ มีทักษะ ที่จะแก้ไขปัญหา หรือรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้ 

สภส. ได้ออกแบบสมรรถนะใหม่สำหรับนักสร้างเสริมสุขภาพ โดยเป็นการรวบรวมสมรรถนะที่จำเป็นทั้งหมดในการทำงานในโลกยุคใหม่ ชุดสมรรถนะเหล่านี้จะมีการฝึกอบรม ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนให้กับภาคีเครือข่ายทุกท่าน เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีขีดความสามารถที่สูงขึ้น”

Collective impact & Collective competency เสริมสมรรถนะ เติมเต็มขีดความสามารถ…

“การใช้จุดเด่นของภาคีเครือข่าย สสส. ที่พวกเราไม่ได้ทำงานคนเดียว เราจะมีสมรรถนะร่วม หรือ collective impact ซึ่งตรงนี้เราพูดถึง collective competency หรือความสามารถของเพื่อนให้เติมเต็มซึ่งกันและกัน จะทำให้เราทำในเรื่องที่เราไม่เคยทำได้มาก่อน ด้วยการให้เพื่อนมาช่วย หรือเราสามารถไปช่วยเพื่อนได้ เพราะภาคีเครือข่าย สสส. ทุกท่านเป็นคนเก่งในการทำงานประเด็นนั้นอยู่แล้ว เก่งในพื้นที่นั้นอยู่แล้ว พอมาเชื่อมประสานกัน จะเกิดสมรรถนะที่เข้มแข็ง มีประสิทธิ ที่เสริมซึ่งกันและกันอย่างมาก

  สิ่งที่สำคัญมากๆ ของคำว่า “can” ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะ เรามีขีดความสามารถอย่างเดียว แต่เป็นความเชื่อมั่นในตนเองด้วย ว่า พวกเราเป็นภาคีเครือข่าย สสส. ผมเชื่อว่า พวกเราที่เข้ามาเป็นภาคีเครือข่าย สสส.
ได้ เพราะมีจุดหนึ่งคือ ความมั่นใจ ความสามารถของตนเองที่พวกเราทำเรื่องนั้นได้ดีที่สุดอยู่แล้ว”

 

เคียงข้าง สร้างความเชื่อมั่น พาภาคีสู่สร้างสังคมสุขภาวะไปด้วยกัน

  สุดท้ายนี้ ดร.กบ ก็ได้ให้กำลังใจสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคีด้วยว่า… “ผมขอให้พวกเราทุกคนเชื่อมั่นว่า พวกเราทุกคนทำได้ ซึ่งในความเชื่อมั่นเหล่านี้ ถ้าจะทำให้เชื่อมั่นยิ่งขึ้นไปอีก สภส. จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ภาคีมีความมั่นใจ มีชุดสมรรถนะ และได้แลกเปลี่ยนชุดสมรรถนะเหล่านี้ให้กับเพื่อนๆ ในประเทศไทย และระดับนานาชาติร่วมกัน สภส. เชื่อมั่นในขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายทุกท่าน และในขีดความสามารถเหล่านั้น ถ้า สสส. โดยสำนักพัฒนาภาคีเครือข่ายสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) เข้าไปช่วยเหลือในส่วนใดได้ ขอให้ภาคีเครือข่ายนึกถึงเรา เรายินดีช่วยเหลือ สนับสนุนกลไกการทำงาน และเชื่อมประสานให้ภาคีสามารถทำงานสร้างสุขภาวะได้ตามเป้าหมายที่วางไว้”

วันนี้ Together We Can ร่วมกัน เราทำได้ ในบริบทโลกยุคใหม่ จะเป็นการสร้างชุดสมรรถนะใหม่สำหรับนักสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้จุดเด่นของภาคีเครือข่าย สสส. ที่ให้ความสำคัญกับความสามารถของเพื่อนให้เติมเต็มซึ่งกันและกัน พัฒนาศักยภาพภาคีให้สามารถทำในเรื่องที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ด้วยการให้เพื่อนมาช่วย หรือเราสามารถไปช่วยเพื่อนได้ เป็นภาคีเครือข่ายที่สามารถทำงานร่วมกันแบบข้ามพื้นที่ ข้ามประเด็นได้ เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งในทุกมิติอย่างยั่งยืน”

ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองการทำงานที่น่าสนใจจาก ดร. ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ เชื่อว่าถ้าภาคีเครือข่ายอ่านบทความพิเศษนี้จบแล้ว จะได้เห็นภาพการทำงานแบบใหม่ที่ก้าวล้ำ เชิงรุก ทันยุคสมัยในการสร้างเสริมสุขภาวะให้กับคนไทยอย่างแน่นอน มาร่วมเดินทางไปใน Chapter ใหม่กับ สภส. เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือการเห็นคนไทยมีสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ

Shares:
QR Code :
QR Code