สุขภาพจิตของคนอีสาน
ภาคการศึกษา
หน่วยงานราชการ : ระบบการดูแลช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจ.อุดรธานี
บริบท (สภาพการณ์ที่มีความซับซ้อน สถานการณ์ปัญหาความรุนแรง)
จากปัญหาการฆ่าตัวตายที่เริ่มสูงในเขตสุขภาพที่ 8 พบว่า กลุ่มที่พยายามฆ่าตัวตาย เป็นประชากรที่มีช่วงอายุ 19-22 ปีร้อยละ 47.25 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจึงพัฒนาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจของนักศึกษา ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ในการแก้ปัญหาทางด้านจิตใจของนักศึกษากลุ่มเสี่ยงที่เป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพจิต ภาวะเครียด ซึมเศร้า และความเสี่ยงต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องให้ความตระหนักและเล็งเห็นความสําคัญ
กระบวนการดําเนินงาน
- ระบบดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจนักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตสุขภาพที่ 8 ยังขาดการเชื่อมต่อในการเข้าถึงและดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจ ทําให้มีการพัฒนาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือทาง
ด้านจิตใจ เฝ้าระวังแบบไร้รอยต่อ ประกอบด้วย- การคัดกรองภาวะสุขภาพจิตกลุ่มปกติด้วยโปรแกรม Mental Health Check In
- การเฝ้าระวังติดตามปฐมพยาบาลทางใจกลุ่มเสี่ยงด้วยโปรแกรม R8 EOC
- การเฝ้าระวังกลุ่มป่วยติดตามต่อเนื่องในชุมชนด้วยโปรแกรม R506 Dashboard และระบบเข้าถึงสิทธิ์การรักษาแบบไม่มีใบส่งตัวได้ทุกจังหวัดด้วย R8 Anywhere
- เปิดศูนย์ให้คําปรึกษาในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมีการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและการแต่งตั้งคณะกรรมการ กําหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรมหาวิทยาลัย
- มีการกําหนด Flow แผนเผชิญเหตุวิกฤติสุขภาพจิตร่วมกับศูนย์สุขภาพ
จิตที่ 8
ความโดดเด่นของการดําเนินงาน
เชื่อมโยงข้อมูลของทุกหน่วยบริการด้านสิทธิในการรักษาพยาบาลผ่านโปรแกรม R8 Anywhere เชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้รับบริการและระบบการส่งต่อทาง Electronics ของทุกหน่วย บริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ภายในเขตสุขภาพที่ 8 โดยนักศึกษาที่มีความจําเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายสามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงสิทธิได้ที่ฝ่ายอนามัย และสุขาภิบาลของมหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาล สิทธิการรักษาพยาบาลสามารถใช้ได้ทันทีภายใน 24 ชั่วโมง และยกเลิกการใช้ใบส่งต่อที่เป็นเอกสาร สามารถเข้ารับบริการการรักษาพยาบาลได้ทุกที่ แพทย์สามารถดูข้อมูลประวัติการรักษาของผู้มารับบริการได้จากโปรแกรมเชื่อมโยงข้อมูล R8 Anywhere
ผลลัพธ์การดําเนินงาน
- มีการให้คําปรึกษาจํานวน 4 ราย (จากระบบติดตาม R8 EOC ) และกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง 4 ราย ได้มีการติดตามให้คําปรึกษา และประเมินสุขภาพจิตซ้ำ ได้รับการดูแลช่วยเหลือทางจิตใจ โดยการปฐมพยาบาลทางใจ PFA และให้คําปรึกษารายบุคคล ครอบคลุมทั้ง 4 รายการคิดเป็น ร้อยละ 100
- มีการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจของนักศึกษาผ่านคณะกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานความตกลงร่วมมือ “โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจก้าวสู่คนไทยคุณภาพ”
- มีการจัดสภาพแวดล้อมเพ่ือเปิดช่องทางการให้บริการดูแลสุขภาพจิตผ่านบริการให้คําปรึกษา UDRU Care Plus ที่เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ บริเวณชั้น 1 อาคารกิจกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และช่องทางออนไลน์ 24 ชม. โดยกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้นํานักศึกษาและกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือจิตใจนักศึกษา ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนํา ส่งเสริมความรู้นักศึกษา
- สื่อสารความรู้ด้านสุขภาพจิตผ่านช่องทางออนไลน์
ปัจจัยความสําเร็จ
- ผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้ความสําคัญกับงานสุขภาพจิต ร่วมขับเคลื่อนการดําเนินงาน
- ภาคีเครือข่ายสุขภาพจิตในมหาวิทยาลัยมีความเข้มแข็งให้ความร่วมมือในการดําเนินงาน
- การดําเนินงานระหว่างหน่วยงานสุขภาพจิต เขตสุขภาพที่ 8 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 /รพจ.เลยฯ /รพจ.นครพนมฯ / ร่วมมือวางแผน และระหว่างดําเนินการเป็นที่ปรึกษา และพี่เลี้ยงทางวิชาการ