วิธีเช็ก! 5 โรคฮิตคนติดจอ ที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

วิธีเช็ก! 5 โรคฮิตคนติดจอ ที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

📱โรคโนโมโฟเบีย ก็คือโรคกลัวไม่มีมือถือใช้
เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวล เพราะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ มักจะมีอาการ เครียด วิตกกังวล ตัวสั่น หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้ และมักจะหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาเช็กอยู่ตลอดเวลา ติดการส่งข้อความและโพสต์ข้อความผ่านสังคมออนไลน์ เพราะติดโซเชียลอย่างหนัก

📱โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) หรือโรคใบหน้าสมาร์ทโฟน
เกิดจากการที่เราก้มลงมองหน้าจอ หรือจ้องสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตเป็นเวลานานเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดอาการเกร็งและไปเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม
เมื่อแก้มถูกแรงกดนาน ๆ ก็จะทำให้เส้นใยอิลาสติกบนใบหน้ายืด จนแก้มบริเวณกรามย้อยลงมา กล้ามเนื้อบริเวณมุมปากก็จะตกไปทางคางด้วย จนใบหน้าอาจดูผิดแปลกไปจากเดิม

📱โรคซึมเศร้าจาก Facebook
คนที่ถูกเพื่อนๆ ปฏิเสธหรือเป็นที่รังเกียจในโลกเฟซบุ๊กจะเป็นอันตรายมากกว่าการถูกปฏิเสธในโลกแห่งความจริง และหลายรายอาจมีปัญหาซึมเศร้าตามมา
วิธีการหลีกหนีอาการนี้คือ ลดการเล่นเฟซบุ๊กลง ทั้งอ่านเรื่องคนอื่น และโพสต์เรื่องตัวเอง จะได้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น

📱โรคละเมอแชท
ก็คือถึงแม้จะนอนแล้วแต่ก็ยังลุกขึ้นมาพิมพ์เหมือนกับคนละเมอนั่นเอง สาเหตุก็มาจากพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน ทำให้สมองยึดติดกับโทรศัพท์ แม้เวลานอนหากมีข้อความเข้ามาสมองก็จะปลุกร่างกายที่หลับให้อยู่ในสภาวะละเมอ แล้วกดส่งข้อความไปโดยไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำเพราะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น

📱โรควุ้นในตาเสื่อม
เพราะปกติเราใช้ดวงตาหนักอยู่แล้ว ยิ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเพ่งข้อความในจอสี่เหลี่ยมเล็กๆ ก็ยิ่งทำให้ดวงตาทำงานหนักคูณสอง อาการเห็นภาพเป็นคราบดำๆ คล้ายหยากไย่ ทำให้ปวดตา และส่งผลให้มีปัญหาด้านสายตาในที่สุด

รู้อย่างงี้แล้วทุกคนควรหันกลับมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองเพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การปรับพฤติกรรมให้ใช้งานโซเชียลน้อยลง ปรับเปลี่ยนไปทีละนิด ก็สามารถใช้ชีวิตอย่างบาลานซ์ได้ครับ

Shares:
QR Code :
QR Code